สัตว์เลี้ยงทุกประเภท เป็นเพื่อนคลายเหงาได้ดีและยังทำให้เราสนุกเพลิดเพลินไปกับพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงเหล่านั้น กระรอกเป็นสัตว์ตัวเล็กๆที่คนนิยมเลี้ยงเพราะนอกจากความสวยงามน่ารักแล้ว ราคายังไม่แพงมาก และสามารถเลี้ยงในห้องพักได้เพราะไม่ส่งเสียงดังรบกวนเหมือนสัตว์เลี้ยงประเภทอื่นๆ แต่การเลี้ยงกระรอก ก็มีข้อควรระวังที่คนเลี้ยงต้องเรียนรู้ก่อนเตรียมตัวเลี้ยงกระรอก
9 ข้อควรระวัง สำหรับการเลี้ยงกระรอก
1. ผู้เลี้ยงมักเข้าใจผิดและถูกคนขายหลอกว่าการเลี้ยงกระรอกตั้งแต่เล็กๆหรือการเลี้ยงตั้งแต่ยังไม่ลืมตา จะทำให้กระรอกเชื่อง ไม่กัดและเข้ากับคนได้ง่าย ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดๆลูกกระรอกที่ยังเล็กจะเลี้ยงค่อนข้างยาก เพราะคนขายส่วนใหญ่นำมาจากธรรมชาติมากกว่าการเพาะลูกกระรอกขาย
2. อาหารกระรอกกลุ่มธัญพืชที่นำมาเลี้ยงกระรอก เช่น ถั่ว ข้าวโอ๊ต และเมล็ดพืชต่างๆ เกิดเชื้อราได้ง่าย อาจทำให้กระต่ายท้องเสีย และตายได้
3. สารพิษตกค้างในพืชผัก กระรอกเป็นสัตว์ที่กินผลไม้ได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะมะพร้าว กล้วย ส้ม มังคุด และพืชผักอื่น การเลือกผลไม้ให้กระรอกกินควรเป็นผลไม้ตามฤดูกาลเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง เช่น สารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของกระรอก
4. อาหารสำเร็จรูปใช้สำหรับเลี้ยงกระรอกโดยเฉพาะยังไม่มี แต่กระรอกต้องการวิตามินและผลไม้ที่หลากหลาย อาหารที่ผู้เลี้ยงนำมาให้กระรอกกินต้องมีความหลากหลายไม่ควรให้อาหารซ้ำๆกัน
5. ลูกกระรอกกินนมเป็นอาหารหลัก การนำลูกกระรอกมาเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆต้องให้กินนมจนถึงช่วงอายุ 2 เดือน และเมื่ออายุได้ 1 เดือนอาจเสริมผลไม้ให้ลูกกระรอกได้บ้าง
6. การเปลี่ยนนมให้กระรอก ถึงแม้กระรอกจะกินนมได้หลายชนิด แต่ก็ไม่ควรเปลี่ยนนมบ่อยๆหรือเปลี่ยนแบบกะทันหัน
7. การใช้แชมพูอาบน้ำหรือสระขนให้กระรอกสามารถทำได้ แต่ควรใช้แขมพูของสุนัขสูตรอ่อนที่สุด และก่อนนำไปใช้ควรผสมน้ำให้เจือจางอย่างน้อย 4-5 เท่า
8. กระรอกที่นำมาเลี้ยงไม่สามารถปล่อยคืนสู่ธรรมชาติได้ เพราะขาดสัญชาติญาณการเอาตัวรอดในป่าธรรมชาติ ถึงแม้จะเป็นกระรอกที่นำมาจากป่าก็ตาม การนำกระรอกมาเป็นสัตว์เลี้ยงจึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจเลี้ยง
9. สถานที่ให้กระรอกอยู่ต้องใกล้เคียงกับธรรมชาติ โดยเฉพาะลูกกระรอกที่ต้องการความอบอุ่น การเลี้ยงในกรงหรือเลี้ยงกระรอกในห้องแคบๆ สภาพอากาศควรถ่ายเทได้สะดวก
ข้อควรระวัง สำหรับการเลี้ยงกระรอกทั้ง 9 ข้อ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ผู้เลี้ยงควรศึกษาเรียนรู้และระมัดระวัง เพราะเมื่อนำมาเลี้ยงแล้วก็เปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวที่ต้องการความรักความเอาใจใส่ และดูแลให้อยู่กับเราไปตลอดอายุขัย