กระรอกสัตว์เลี้ยงตัวเล็กๆน่ารัก แต่เป็นที่รังเกียจของชาวสวนเพราะชอบกัดกินและทำลายพืชผล วิธีกำจัดเจ้ากระรอกจากธรรมชาติของชาวสวนก็คือ การจับลูกกระรอกเล็กๆมาขายให้กับร้านสัตว์เลี้ยง เพื่อหาคนนำไปเลี้ยงต่อ ดังนั้นเจ้ากระรอกน้อยส่วนใหญ่จึงไม่ได้รับการฉีดวัคซีนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
อาการกระรอกป่วย
1. อาการเจ็บป่วยจากการได้รับสารพิษ
กระรอกเป็นสัตว์ฟันแทะทำให้ชอบกัดกินอยู่ตลอดเวลา และยังเป็นสัตว์ที่กินพืชผักผลไม้ได้เกือบทุกชนิด อาการเจ็บป่วยจากการได้รับสารพิษตกค้างจากพืชผักที่กินจึงเกิดขึ้นได้ง่าย ลักษณะอาการเมื่อร่างกายได้รับสารพิษ เช่น
1.มีน้ำลายไหล อาจเป็นฟองหรือไม่ก็ได้
2.ทรงตัวไม่ได้ กระรอกจะเดินวน ลักษณะเดินเป๋ไปมา
3.เหงือกซีด ตัวเย็น ช็อกหมดสติ
4.ลำไส้อักเสบ
5.ท้องร่วง อาจมีเลือดปนออกมาด้วย
หากพบกระรอกที่เลี้ยงไว้มีลักษณะอาการกระรอกป่วยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการรวมกัน ให้นำไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน
2. อาการของกระรอกเป็นหวัด
อาการเป็นหวัดของกระรอกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ เกิดจากการสำลักน้ำ สำลักนมหรืออาหาร เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ลักษณะอาการเช่น
1. กระรอกจะมีน้ำมูก หากเป็นลูกกระรอกต้องดูแลเป็นพิเศษและควรพาไปพบแพทย์ แต่ถ้าเป็นกระรอกโตอาจหายได้เอง
2. ลักษณะน้ำมูกใสๆ ไม่เกิน 1 สัปดาห์หายเองได้
3. กระรอกจะมีอาการไอ หรือจาม
4. กระรอกที่มีน้ำมูกเหนียว สีขาวข้นติดจมูก ควรพาไปพบสัตวแพทย์
อาการหวัดในกระรอกยังมีทั้งอาการหวัดธรรมดาและหวัดลงปอด ซึ่งลักษณะอาการคล้ายกันมากเมื่อมีอาการหวัดในข้อใดข้อหนึ่งคนเลี้ยงควรดูแลอย่างใกล้ชิด
3. กระรอกท้องเสียและอาการท้องผูก
กระรอกเป็นสัตว์ตัวเล็กๆที่กระเพาะและระบบย่อยอาหารต้องทำงานหนัก หากกินอาหารไม่เหมาะสม ลักษณะอาการที่พบได้แก่ท้องเสียหรืออาการท้องอืดโดยเฉพาะกระรอกเด็กที่ยังไม่หย่านม สาเหตุหลักเกิดจากการการกินนม กระรอกที่มีอาการท้องเสียหรือท้องอืดเริ่มจากมีอาการเซื่องซึม ไม่น่าเริง ไม่กินอาหารหรือกินอาหารได้น้อย ถ่ายบ่อย หากถ่ายเหลวเป็นน้ำและมีกลิ่นอาจติดเชื้อแล้ว ควรพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน
อาการกระรอกป่วยไม่แตกต่างไปจากสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ บางครั้งอาจหายได้เองเช่นอาการหวัดหากอาการไม่รุนแรงหรือติดเชื้อก็สามารถหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ สำหรับการดูแลรักษาหากเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดจะพบความผิดปกติหรือพบอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ดูแลรักษาได้ทันแต่การป้องกันไว้ก่อนย่อมดีกว่ารักษาเพราะอาการเจ็บป่วยส่วนหนึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องของคนเลี้ยง ดังนั้นเมื่อเรารู้ทันอาการเจ็บป่วยก็จะเป็นประโยชน์กับผู้เลี้ยงทั้งมือเก่าและมือใหม่